เทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง
สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์,
เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ
หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้
และก่อให้เกิดประโยชน์ ในทางปฏิบัติ
แก่มวลมนุษย์กล่าวคือเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้
ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัย
ทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์
เป็นสมบัติส่วนรวมของ
ชาวโลกมีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ
เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ
ลักษณะของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3
ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process)
เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ
ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้
เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ
โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง
วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process
and product) เช่น
ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เทคโนโลยีชีวภาพ
ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของเทคโนโลยีชีวภาพในอนาคต
คือ การพัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตอาหารเลี้ยงชาวโลก การปฏิวัติทางเทคโนโลยีชีวภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น
จะมีความสำคัญต่อมนุษยชาติไม่น้อยไปกว่าการปฏิวัติทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในขณะที่ประเทศไทยกำลังซวนเซอันเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ
หลายคนหันมาคิดได้ว่า เราต้องหาทางตั้งตัวใหม่ ผลิตสินค้าและ เปิดบริการใหม่ๆ
แทนที่จะอาศัยวัตถุดิบและค่าแรงราคาถูก ซึ่งเคยเป็นข้อได้เปรียบของไทย
แนวทางใหม่คงต้องเป็นการใช้สมอง ใช้ความสามารถที่เรามีอยู่บ้าง
มาเพิ่มพูนและผสมผสาน กับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อผลิตสินค้า หรือ เสนอบริการที่สามารถ
แข่งขันในตลาดโลกได้
โชคดีที่จังหวะเหมาะของประเทศไทยอาจกำลังมาถึงในช่วงต้น
ศตวรรษหน้านี้ เทคโนโลยีในโลกกำลังก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ
เทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเป็น เทคโนโลยีสำคัญ เปรียบดัง เชื้อเพลิงที่
เครื่องยนต์ของระบบเศรษฐกิจไทยกำลังขาดแคลนอยู่ในขณะนี้
ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพเป็นทุนเดิมอยู่มากมาย คนไทยเอง ก็มีความชำนาญทางการเกษตร
และด้านการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องของการใช้ เทคโนโลยีชีวภาพเช่นกัน
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า เราจะต้องลงทุนเพิ่มขีดความสามารถทาง
เทคโนโลยีชีวภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) คืออะไร
เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำสิ่งมีชีวิต
และผลผลิตมาใช้ประโยชน์ ถ้ามองอย่างกว้างๆ บ้านเรามีเทคโนโลยีดังกล่าวมานานมากแล้ว
ตั้งแต่ยังไม่ได้ติดต่อกับตะวันตกด้วยซ้ำ การทำน้ำปลา ซีอิ๊ว การหมักอาหาร
หมักเหล้า ล้วนเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เช่นเดียวกับ การปรับปรุงพันธุ์พืช
สัตว์ให้มีผลผลิตมากขึ้น คุณภาพดีขึ้น การนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรค บำรุงสุขภาพ
ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ดี
ปัจจุบันเมื่อพูดถึงเทคโนโลยีชีวภาพ เรามักหมายถึง
เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีวิทยาศาสตร์เป็นรากฐาน ประกอบด้วยหลายสาขาวิชา ผสมผสานกันอยู่
ตั้งแต่ชีววิทยา เคมี ไปจนถึงวิศวกรรม อาจเรียกได้ว่า เป็นสหวิทยาการที่นำความรู้
พื้นฐานเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ตั้งแต่เรื่องการขยายและปรับปรุงพันธุ์สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
การนำผลผลิตจากสิ่งมีชีวิตไปแปรรูป เป็นอาหารหรือยา รวมถึงกระบวนการที่ใช้แปรรูปผลผลิตดังกล่าว
ในระดับโรงงาน และกระบวนการที่ใช้สิ่งมีชีวิตเช่น จุลชีพในการบำบัดน้ำเสีย หรือ
การนำของเสียไปใช้ประโยชน์ เช่น นำไปทำปุ๋ย เป็นต้น
ในระยะ 20
ปีที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่เราเรียกว่า ชีววิทยาโมเลกุล (Molecular
Biology) ได้ทำให้เราเข้าใจกลไก
การสืบพันธุ์และการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตอย่างละเอียดลึกซึ้ง ที่น่าทึ่งมากก็คือ
จากความเข้าใจนี้ เราสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม
ของสิ่งมีชีวิตได้ เช่น ให้จุลชีพผลิต ฮอร์โมนหรือโปรตีนของมนุษย์ที่ใช้เป็น
ยา ซึ่งสามารถทำในระดับอุตสาหกรรมได้ง่ายกว่าและดีกว่าเดิม
ที่ต้องนำมาจาก สัตว์ หรือ จากเลือดมนุษย์
ปัจจุบันเราสามารถใส่ลักษณะพิเศษทางพันธุกรรมเข้าไปในพืชหรือสัตว์
ทำให้ได้พืชที่สามารถ ต้านทานแมลงที่เป็นศัตรูของมันได้ หรือ
สัตว์ที่ผลิตวัคซีนในน้ำนมของมันได้ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง
ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนี้เรียกว่า พันธุวิศวกรรม (Genetic
Engineering) ทั้งหมดทำได้โดยการตัดต่อยีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น